NEWSENG

      สืบสานประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำขอพร ผู้บริหาร ผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมสืบสาน ประเพณีไทย สรงน้ำพระ รดน้ำขอพร ผู้บริหาร ผู้สูงอายุ  เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสำคัญถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ...

บริษัท SPC Interprint ประเทศไทย เพิ่มกำลังการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น 2 เท่า ด้วยเครื่องพิมพ์ BOBST รุ่น NOVA RS 5003 บริษัท SPC Interprint เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อน (Flexible Packaging) ได้ขยายฐานการผลิตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท BOBST และได้เริ่มทำธุรกิจกันในปี พ.ศ. 2561 บริษัท SPC Interprint ได้ติดตั้งเครื่องพิมพ์ระบบ Gravure รุ่น NOVA RS 5002 แห่งแรกของประเทศไทย และด้วยประสิทธิภาพอันดีเยี่ยมของเครื่องพิมพ์ บริษัท SPC Interprint จึงติดต่อกับBOBST เพื่อขอสั่งซื้อเครื่องพิมพ์รุ่น NOVA RS 5003 เพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาในการผลิต บริษัท SPC Interprint ได้ผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนด้วยเครื่องพิมพ์ระบบ Gravure และ Flexo ส่งให้ลูกค้าในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2550 การสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ Gravure รุ่น NOVA RS 5003 ใหม่นี้ ทำให้บริษัทก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท SPC Interprint ประเทศไทย ถือเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ มีพนักงานกว่า 180 คน ตั้งอยู่ ตำบลคลองตำหรุ จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ขนาด 32,000 ตารางเมตร ผลิตภัณฑ์ของบริษัท SPC Interprint ได้แก่ งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์อ่อน ถุงแบบตั้งได้ (Stand-up Pouches) และถุงทั่วไป (Bags) สำหรับลูกค้ากลุ่ม ตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ครัวเรือน และรักสุขภาพ สินค้าที่ขายดีอีกอย่างหนึ่ง คือ กระดาษหุ้มโคนไอศกรีม แบบเรียบง่ายและมีสีสัน ทางบริษัทฯ เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตอย่างมาก จึงตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและความก้าวหน้าทางธุรกิจ ชัยวุฒิ...

เทคโนโลยีการพิมพ์ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง 1. พิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) เป็นการพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ หรือพริ้นเตอร์ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานพิมพ์ประเภทนี้ เป็นงานพิมพ์ที่มีปริมาณไม่มาก พิมพ์ครั้งละจำนวนน้อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนภาพ หรือแก้ไขข้อความได้บ่อย ๆ 2. พิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) พิมพ์แบบออฟเซ็ท เป็นการพิมพ์พื้นราบ ที่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการพิมพ์ครั้งละมาก ๆ วิธีการ คือใช้ระบบและหลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน โดยสร้างเยื่อน้ำไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นแม่พิมพ์ เมื่อรับหมึก หมึกจะไม่เกาะน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพแล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ต่อไป ซึ่งเป็นการพิมพ์ที่เน้นรายละเอียดการพิมพ์สูงมาก มีเครื่องพิมพ์หลายขนาดงานที่เหมาะกับงานพิมพ์ออฟเซ็ท เช่น นามบัตร ใบปลิว แผ่นพับ โบรชัวร์ โปสเตอร์ โปสการ์ด บัตรเชิญ หนังสือ วารสาร นิตยสาร แคตตาล็อก งานพิมพ์ใช้ในสำนักงาน ฯลฯ 3. พิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet) เป็นงานพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก โดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็ก ๆ ลงบนกระดาษ เมื่อสั่งพิมพ์ตัวเครื่องจะคำนวณตำแหน่งจุดของภาพรวม และพ่นสีหมึกที่ประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามรูปแบบไฟล์งานที่ใส่เข้าไป ทำให้ภาพออกมาชัดเจ่นและคมชัด ซึ่งงานพิมพ์ประเภทนี้สามารถสั่งพิมพ์ได้ทั้งงานขนาดเล็กและงานขนาดใหญ่ ไม่จำกัดขนาดบนกระดาษ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทั้งงานภายในและงานภายนอกอาคารงานที่เหมาะกับงานพิมพ์อิงค์เจ็ท เช่น ป้ายแบนเนอร์ โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา บิลบอร์ด โฆษณาติดข้างรถต่าง ๆ ตลอดจนงานพิมพ์ตกแต่งตามอีเว้นท์ต่าง ๆ 4. พิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing) เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์ โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้และสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลากหลายชนิด ทั้งกระดาษ ผ้า ไม้ พลาสติก รวมไปถึงพิมพ์บนวัสดุที่มีผิวโค้งได้ เช่น แก้ว ขวด จานชาม เป็นต้น นอกจากนี้ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้าอีกด้วยงานที่เหมาะกับงานพิมพ์ซิลค์สกรีน ได้แก่ ป้ายกระดาษ ป้ายโฆษณา นามบัตร พลาสติก โลหะ เสื้อผ้า ขวด จานชาม บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น 5. พิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing) เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสม หรือพอลิเมอร์อย่างหนากัดผิวจนเหลือส่วนที่เป็นภาพนูน สำหรับรับหมึกพิมพ์แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับ แต่การทำแม่พิมพ์ค่อนข้างลำบากและภาพพิมพ์ที่ได้ไม่ค่อยสวยงาม ทำให้ในปัจจุบันมีการพิมพ์ประเภทนี้เหลืออยู่น้อยงานที่เหมาะกับงานพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ ได้แก่ กล่อง ฉลาก นามบัตร แบบฟอร์ม...

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สามารถเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจ โดยได้รับอานิสงส์จากยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของธุรกิจ e-Commerce และธุรกิจส่งอาหารที่ขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ ปิดห้างสรรพสินค้า ห้ามการนั่งรับประทานในร้านอาหาร จากข้อมูลของ Packaging Intelligence Unit กระทรวงอุตสาหกรรม ปริมาณการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในประเทศสามารถขยายตัวได้ราว 3% YOY ในปี 2020 แม้ว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยมี GDP หดตัว -6.1% จากโควิด-19 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาด และข้อมูลล่าสุดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 ปริมาณการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ในประเทศเติบโตถึงกว่า 12% YOY มาอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคได้หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ และตระหนักถึงสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นเมกะเทรนด์ที่จะเปลี่ยนโฉมรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ในโลกยุคโควิด และโลกหลังโควิดต่อไปในอนาคต นอกจากบรรจุภัณฑ์ช่วยรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าภายในแล้ว ผู้บริโภคยังมั่นใจว่าสินค้าในบรรจุภัณฑ์สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ไม่มีการจับต้องจากมือผู้อื่นอีกด้วย ในอดีตตามซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสด วางขายผักผลไม้ให้ลูกค้าเลือกหยิบจับได้ตามใจชอบ ไม่มีการแพ็กใส่ถุงหรือกล่องแต่อย่างใด ปัจจุบันสินค้าต่าง ๆ ควรต้องถูกแพ็กลงในบรรจุภัณฑ์ให้เรียบร้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสุขอนามัย (hygienic packaging) จะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์และแบรนด์สินค้าในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ทั้งนี้ Transparency Market Research (ตีพิมพ์เดือนมกราคม 2021) คาดการณ์ว่าตลาด hygienic packaging จะเติบโต 6% ต่อปี ระหว่างปี 2020-2028 ปัจจุบัน hygienic packaging ได้พัฒนา 2 ด้าน คือ 1) วัสดุที่นำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ 2) การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพ ในด้านวัสดุองค์การอนามัยโลกรายงานว่า โคโรนาไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวได้หลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นผิว เช่น อะลูมิเนียมอยู่ได้ 2-8 ชั่วโมง พลาสติกและกระดาษอยู่ได้ 4-5 วัน ในขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐชี้ว่า 80% ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยนั้นติดมาจากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องสินค้า กล่องใส่อาหาร ถุงพลาสติก เป็นสิ่งที่ถูกหยิบจับ เปลี่ยนมือ ตั้งแต่กระบวนการแพ็กไปจนถึงขั้นตอนการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค...